เม็ดมะม่วงหิมพานต์

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วชนิดหนึ่งที่หาทานง่าย

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นหนึ่งในเมล็ดพืชที่หาเจอได้ง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ตามห้าง ในเมนูอาหารบางอย่าง ซึ่งมันมักจะถูกนำมาเป็นของทานเล่นยามว่างแบบขนม หรือใส่เป็นส่วนผสมในอาหารจานหลัก ในบทความนี้จะมาบอกเล่าข้อมูลเพิ่มเติมของเมล็ดพืชชนิดนี้กัน

เม็ดมะม่วงหิมพานต์
เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ภาพโดย Jenn Kosar จาก Unsplash

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่บราซิล และถูกได้ทำให้เป็นที่รู้จักโดยชาวอาณานิคม จนไปถึงแอฟริกาและอินเดีย แล้วได้กลายมาเป็นผู้ผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน  เม็ดมะม่วงหิมพานต์มีขายทั้งแบบดิบหรือคั่ว แบบใส่เกลือหรือไม่ใส่เกลือ

เม็ดมะม่วงหิมพานต์เพิ่งได้ถูกนำมาใช้เป็นผลิตผลิตภัณฑ์นม เช่น นมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เนยแข็งที่ทำจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซอสครีมและครีมเปรี้ยวที่มีเม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นส่วนประกอบ

เม็ดมะม่วงหิมพานต์
เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ภาพโดย @felipepelaquim จาก Unsplash

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ประโยชน์

เม็ดมะม่วงหิมพานต์มีไขมัน แต่ส่วนใหญ่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งดีต่อสุขภาพในปริมาณที่พอเหมาะ

กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่พบในเม็ดมะม่วงหิมพานต์สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจวาย

เม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นแหล่งแมกนีเซียมที่ดี ซึ่งมีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยาของเอนไซม์มากกว่า 300 ปฏิกิริยาภายในร่างกาย ซึ่งรวมถึงการเผาผลาญอาหารและการสังเคราะห์กรดไขมันและโปรตีน

เม็ดมะม่วงหิมพานต์
เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ภาพโดย Bishnu Sarangi จาก Pixabay

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้อเสีย

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบไม่ปลอดภัยที่จะกิน เพราะว่ามีสารที่เรียกว่า urushiol ซึ่งพบในไม้เลื้อยพิษ Urushiol เป็นพิษและการสัมผัสกับมันอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางผิวหนังกับบางคน

ตามร้านค้ามักขายเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบ แต่เมล็ดเหล่านี้ผ่านการนึ่งหรืออบแล้ว ซึ่งมันช่วยกำจัดสารพิษ เม็ดมะม่วงหิมพานต์พวกนี้ดีต่อสุขภาพ

เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือและคั่วอาจมีเกลือและไขมันในปริมาณสูง แต่ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ อาจไม่ดีต่อสุขภาพ ควรตรวจสอบฉลากก่อนและบริโภคถั่วเหล่านี้ในปริมาณเล็กน้อย คนที่แพ้ถั่วควรหลีกเลี่ยงเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เนื่องจากมันมีสารก่อภูมิแพ้ที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ รวมถึงการช็อกจากภาวะภูมิแพ้ (anaphylactic shock) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

ที่มา

https://www.medicalnewstoday.com/articles/309369